กิจกรรมวันที่ 8 - 12 พ.ย 2553


                                        คำตอบ 3 คำอธิบาย
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( Nulear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์พอร์ ( Nuclear pore) หรือ แอนนูลัส ( Annulus) มากมาย รูเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ ระหว่างไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียส ยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่าน เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสชั้นนอก จะติดต่อกับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม และมีไรโบโซมมาเกาะ เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ ระหว่างนิวเคลียสและไซโทพลาซึมด้วย
2. โครมาทิน ( Chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียส ที่ย้อมติดสี เป็นเส้นในเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห เรียกร่างแหโครมาทิน ( Chromatin network) โดยประกอบด้วย โปรตีน รวมกับกรดดีออกซีไรโบนิคลีอิค ( deoxyribonucleic acid) หรือเรียกว่า DNA เป็นสารพันธุกรรม ที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เส้นใยโครมาตินมีคุณสมบัติติดสีได้ดี ทำให้เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจน
ในการย้อมสี โครมาทินจะติดสีแตกต่างกัน ส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มีจีน (Gene) อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน ( Heterochromatin)
ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน ( Euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่ของจีน ในขณะที่เซลล์กำลังแบ่งตัว ส่วนของโครโมโซมจะหดสั้นเข้าและมีลักษณะเป็นแท่งเรียกว่า โครโมโซม ( Chromosome) และโครโมโซมจะจำลองตัวเองเป็นเส้นคู่ เรียกว่า โครมาทิด (Chromatid) โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนแน่นอน เช่น ของคนมี 23 คู่ ( 46 แท่ง ) แมลงหวี่ 4 คู่ ( 8 แท่ง) แมว 19 คู่ ( 38 แท่ง) หมู 20 คู่ ( 40 แท่ง) มะละกอ 9 คู่ ( 18 แท่ง) กาแฟ 22 คู่ ( 44 แท่ง) โครโมโซมมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมค่าง ๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป เช่น หมู่เลือด สีตา สีผิว ความสูง และการเกิดรูปร่าง ของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
3. นิวคลีโอรัส ( Nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียส ที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ค้นพบโดยฟอนตานา ( Fontana ) เมี่อปี ค.ศ. 1781 ( พ.ศ. 2224) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวกยูคาริโอตเท่านั้น เซลล์อสุจิ เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อ จะไม่มีนิวคลีโอลัส นิวคลีโอลัส เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมี บนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ กลไกการสร้างโปรตีน
ซึ่งนิวคลีโอรัส ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (Phosphoprotein) จะไม่พบโปรตีนฮิสโตนเลย ในเซลล์ที่มีกิจกกรรมสูง จะมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์ที่มีกิจกรรมต่ำ จะมีนิวคลีโอลัวขนาดเล็ก นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ และถูกนำออกทางรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อสร้างเป็นไรโบโซมต่อไป ดังนั้น นิวคลีโอลัส จึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีน เป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน
1. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER) เป็นชนิดที่มี ไรโบโซมเกาะ
หน้าที่
•  การสังเคราะห์โปรตีน ของไรโบโซมที่เกาะอยู่ โดยมีกอลจิบอดี ( golgi body)
•  เป็นตัวสะสม หรือทำให้มีขนาดพอเหมาะ ที่ส่งออกนอกเซลล์
•  ลำเลียงสาร ซึ่งได้แก่ โปรตีน ที่สร้างได้ และสารอื่นๆ เช่น ลิพิดชนิดต่างๆ
ในเซลล์ที่เกิดใหม่ พบว่ามี RER มากกว่า SER แต่เมื่เซลล์มีอายุมากขึ้น พบว่า SER มากกว่า RER เชื่อกันว่า RER จะเปลี่ยนเป็น SER เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น
2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER) เป็นชนิดที่ไม่มี ไรโบโซมเกาะ พบมากในเซลล ์ที่มีหน้าที่กำจัดสารพิษ และสร้างสารสเตอรอยด์ จึงพบในเซลล์ที่ต่อมหมวกไต เซลล์แทรกของเลย์ดิกในอัณฑะ เซลล์รังไข่ และในเซลล์ของตับ และยังทำหน้าที่ คือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิด โปรตีน
เนื่องจากผนังของ ER ยอมให้สารประกอบโมเลกุลใหญ่บางชนิด รวมทั้ง ลิปิด เอนไซม์ และโปรตีนผ่านเข้าออกได้ จึงเป็นทางผ่านของสาร และเกลือแร่เข้าไปกระจายทั่วเซลล์ รวมทั้งสารต่างๆ ยังอาจสะสมไว้ใน ER อีกด้วย และการขับของเสีย ออกจากเซลล์ โดยผ่านทาง ER เรียกว่า เอกโซไซโทซิส ( exocytosis)
                                                 เซลล์สัตว์จะประกอบไปด้วย

คำตอบ ข้อ 2 คำอธิบาย
การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

คำตอบ ข้อ 2
 คำอธิบาย การที่ดืมแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอน์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเองอธิบายข้อสอบ ข้อ2
วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH
ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone)
วาโซเพรสซิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 หน่วย คล้ายกับฮอร์โมนออกซิโทซิน แต่ต่างกันอยู่เล็กน้อย ทำให้การทำงานแตกต่างกันไป ตำแหน่งที่ 8 ของวาโซเพรสซินคือกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) บางครั้งจึงเรียกว่าอาร์จินีนวาโซเพรสซิน มีสูตรโครงสร้างดังนี้
ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไปซึ่งได้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สารเหลวในร่างกายจะเจือจางลง ฮอร์โมน ADH จะถูกหลั่งออกมาน้อยลง ไตจะขับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ความเข้มข้นปกติ การดื่มแอลกอฮอล์จะร่วมยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADHอีกด้วย ทำให้ปัสสาวะบ่อยมีผลให้สารน้ำในร่างกายต่ำ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ และกระหายน้ำได


ตอบข้อ 3 คำอธิบาย
สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์  หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส         ของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น   จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม 
หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์  คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม  ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  นั่นคือสามารถ  รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity
                สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1)  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution)        สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น
                                                กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น
                                              CH3COOH  +  CH3COONa
                                              HCN  +  KCN
                                              H2S  +  Na2S 
                                              H2CO3  +  NaHCO3
 2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7  เป็นเบส  เช่น
                                                เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น
                                                NH3  +  NH4Cl
                              NH3  +  NH4NO3
                              Fe(OH)2  +  FeCl2
                              Fe(OH)3  +  FeCl3
 วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
   1.  เตรียมโดยตรงโดยการผสมกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้นหรือผสมเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้นก็จะได้เกลือของกรดอ่อนและเกลือของเบสอ่อน
2.  เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส ดังนี้
     1)  บัฟเฟอร์กรด  เตรียมโดยใช้กรดอ่อน( แตกตัวบางส่วน )ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อน)
 เช่น  HF(aq)  +  NaOH(aq)  -----------------> NaF(aq)  +  H2O(l)
  ถ้าใช้ HF มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว NaOH จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง HF กับ NaF ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์กรด (กรดอ่อน+เกลือของมัน)
2)  บัฟเฟอร์เบส  เตรียมโดยใช้เบสอ่อน( แตกตัวบางส่วน )  ทำปฎิกิริยากับกรด  (แก่หรืออ่อน)  เช่น
          HCl(aq)  +   NH4OH(aq)   ---------------->   NH4Cl(aq)  +    H2O(l)  
         ถ้าใช้  NH4OH มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว HCl จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH กับ  NH4Cl  ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์เบส  (เบสอ่อน + เกลือของมัน)
 การควบคุมค่า pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์ 
                ถ้าบัฟเฟอร์มีสาร CH3COO-  กับ CH3COOH  อยู่ในระบบ         ถ้าเติมกรด เช่น HCl ลงไป  H+  ในกรดจะถูกสะเทินด้วยคู่เบสดังนี้
                         CH3COO-  +  H+        ↔       CH3COOH
 ถ้าเติมเบส เช่น  KOH  ลงไป  OH-  ในเบสจะถูกสะเทินด้วยคู่กรณีดังนี้
                            CH3COOH  +  OH-      ↔        CH3COO-  +  H2O  
 สรุปได้ว่า   -  ถ้าเติมกรดลงไป  H+  ในกรดจะถูกสะเทินด้วยเบส
                     -  ถ้าเติมเบสลงไป  OH-  ในเบสจะถูกสะเทินด้วยกรด          
-  กรดแก่  เบสแก่  เป็นบัฟเฟอร์ไม่ได้เพราะสารพวกนี้แตกตัวได้  100% ไม่มีโอกาสเกิดคู่กรดคู่เบส
ชนิดของ Buffer
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่างกัน 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
     1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7   เป็นกรด
     2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7    เป็นเบส
สูตรที่ใช้ในการหาค่า PH และ POH
pHของ Buffer ใช้สูตร
                                           
                                                                  เมื่อ  A-     = ความเข้มข้นของเกลือ
                                                                          HA   = ความเข้มข้นเริ่มต้นของกรด
pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ]/[เบส]

คำตอบ ข้อ 1
การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( control of virus diseases )
                   กระทำโดยการป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธุ์ หรือตัดเอา apical meristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture ) ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส

ตอบ  ข้อ4 อธิบาย
แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจน ที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีด เข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วน ที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลาก หลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region

ตอบข้อ2 อธิบาย
น้ำเชื่อมมีกลูโคสอยู่ซึ่งมีค่าเป็นกลางมากที่สุดในจำนวนตัวเลือกนี้

ตอบข้อ4 อธิบาย
กรดไรโบนิวคลีอิก หรืออาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid ; RNA)
อาร์เอ็นเอมีลักษณะเป็นกรดนิวคลีอิกกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นสายพอลินิ วคลีโอไทด์สายเดียวโดยในโมเลกุลของนิวคลีโอไทด์จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ไนโตรเจนเบส น้ำตาลเพนโทส และหมู่ฟอสเฟต เหมือนกับดีเอ็นเอ แต่จะมีลักษณะที่แตกต่าจากดีเอ็นเอ คือ
1. น้ำตาลเพนโทสในอาร์เอ็นเอจะเป็นน้ำตาลไรโบสในขณะที่ดีเอ็นเอจะเป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส
2. ในอาร์เอ็นเอจะมีไนโตรเจนเบสเป็น ยูราซิล (U) แทนไนโตรเจนเบส ไทมีน (T) ในดีเอ็นเอ
อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมที่สามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยอาจจะพบได้ในไซโทพลาซึมนิวเคลียสและในไมโทคอนเดรีย

ตอบข้อ3 อธิบาย

ตอบ ข้อ4 อธิบาย
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมี อายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ


ตอบ ข้อ2 อธิบาย
มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเท ชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

ตอบ ข้อ 2 คำอธิบาย
การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่


อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบ ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่นำมาใช้





ในกรณีการโคลนแกะดอลลี ของนายเอียน วิลมุต ใช้เทคโนโลยีวิธีเดียวกันกับการโคลนกบ โดยนำนิวเคลียสของเซลล์เต้านมแกะที่เป็นต้นแบบมาใส่ในไข่ของแกะอีกตัวหนึ่ง แล้วนำเซลล์ไข่ที่ทำการโคลนแล้วไปถ่ายฝากตัวอ่อนในท้องแม่แกะอีกตัวหนึ่ง



ตอบข้อ3 อธิบาย
อธิบายข้อสอบ ข้อ3

การผลิตฮอร์โมนอินซูลินโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม
มีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้

1. การตัดชิ้นส่วน
DNA ของคนที่มียีนควบคุมการสังเคราะห์
ฮอร์โมนอินซูลิน ต่อเข้ากับ
DNA ของแบคทีเรีย จะได้ DNA

โมเลกุลใหม่ เรียกว่า
DNA สายผสม

2. นำ DNA สายผสมใส่เข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรีย

ที่ไม่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนอินซูลิน ให้กลายเป็นแบคทีเรีย
ชนิดใหม่ที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนอินซูลินได้

3. คัดเลือกแบคทีเรียชนิดใหม่ที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมน
อินซูลินได้
และนำไปเพาะเลี้ยงให้มีเซลล์จำนวนมากเพียงพอแล้ว
จึงสกัดฮอร์โมนอินซูลินไปใช้ประโยชน์ต่อไป



ตอบข้อ2 อธิบาย
DNA (รหัสประจำตัวสิ่งมีชีวิต)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆมักจะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคล (เพราะว่าลายนิ้วมือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน ไม่มีใครลายนิ้วมือเหมือนกัน) เนื่องจากคนในอดีตส่วนใหญ่เขียนหนังสือไม่ได้ แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เขียนหนังสือได้แล้ว บางหน่วยงานหรือบางเรื่องจึงมีการใช้ลายมือชื่อหรือลายเซ็นเป็นสัญลักษณ์ของบุคคล แทนการใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ แต่การใช้ลายเซ็นเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคล มีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะว่ามีหลายคนสามารถปลอมลายเซ็นได้เหมือนมาก จึงมีปัญหาเกิดขึ้นกับธนาคารหลายแห่ง เพราะว่ามีคนปลอมลายเซ็นแล้วสามารถเบิกเงินออกไปได้ ท่านผู้อ่านก็ทราบว่าในปัจจุบันมีบางหน่วยงานที่ยังคงใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลอยู่ เช่น โรงรับจำนำทุกแห่ง สถานีตำรวจ ศาล เรือนจำ และ สถานธนานุบาล ฯลฯ

ตอบ ข้อ2 อธิบาย

เพราะว่า เหยี่ยวมีความเป็นผู้ล่ามากกว่าผู้ถูกล่า
เเละเปนตัวสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร

ตอบ ข้อ1 อธิบาย

เพราะว่า เมื่อเกิดการระเบิดก็จะเกิด
การเสียหายหนักมากจนไปสู่การเริ่มต้นใหม่

ตอบ ข้อ4 อธิบาย

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีความ สัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูญพันธุ์ไป ก็จะกระทบกระเทือนต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ในระบบนิเวศด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศหนึ่ง ยังอาจมีผลเกื้อกูลต่อระบบนิเวศอื่นๆ เช่น ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำที่มีผลต่อระนิเวศในลำธาร ป่าชายเลนและแนวปะรังเป็นแหล่งอภิบาลตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเลหากมีการ ทำลายป่าต้นน้ำ ป่าชายเลนหรือแนวปะการังย่อยจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน ระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกัน


ความหลากหลายทางชีวภาพนอกจาก จะมีความสำคัญต่อโลกของสิ่งมีชีวิตโดยรวมแล้ว ยังมีความสำคัญเฉพาะต่อคนในหลายแง่มุม คนนำสัตว์และพืชในธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่น การค้นพบว่าข้าวพันธุ์พื้นบ้านไทยมียีนที่ช่วยให้ช้าวสามารถต่อด้านเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจนได้สายพันธุ์ข้าวที่ด้านทานแมลงศัตรู ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย


เรายังใช้ วัตถุดิบจากสิ่งมีชีวิตมาทำประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างขวาง เช่น เส้นใยและยางล้วนแต่เป็นผลผลิตจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษสารเคมีจากพืช และสัตว์หลายชนิดนำมาทำเครื่องสำอางและยารักษาโรคมากมายเป็นสารที่สกัดได้ จากสิ่งมีชีวิตเช่น สารปลาโนทอด (Planonotol) จากต้นเปล้าน้อยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคกระเพาะและลำไล้ หากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตลดลงเรื่อยๆ ดังเช่นในปัจจุบัน มนุษย์ก็จะสูญเสียประโยชน์จากการนำสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและวัตถุดิบทาง ชีวภาพมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม

ตอบข้อ 1 อธิบาย

พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อ พลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้

ตอบ ข้อ2 อธิบาย

เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับ แพลงตอนพืช สาหร่ายและพืชน้ำ

ตอบข้อ1และข้อ2 อธิบาย

ข้อ1เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์บก
ข้อ2 เป็นสัตว์ ประเภทเดียวกันแต่คนละสายพันธุ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น