กิจกรรมวันที่ 15-19 พ.ย. 2553

  1. ตอบ ข้อ4. คำอธิบาย คือ ค. คือผู้บริโภค ทั้งพืชเเละสัตว์ ส่วน ง. คือผู้บริโภคสัตว์ ส่วน ผู้บริโภคสัตว์  ในระบบนิเวศหนึ่งๆ  จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต  และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ที่สำคัญคือการเป็นอาหาร  ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช   ซึ่งเป็นผู้ผลิต ( Producer )   สู่ผู้บริโภค  ( Herbivore )   ผู้บริโภคสัตว์ ( Carnivore )   กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivore )   และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ( Decomposer )  ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร ( Food  Chain ) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่งๆ  จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วงโซ่  เป็นสายใยอาหาร   ( Food  Web )   
  2.  ตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย  การสังเคราะห์แสง  คือ กระบวนการซึ่งพืชสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารประกอบ อนินทรีย์ โดยมีแสงปรากฏอยู่ด้วย  สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ สาหร่าย พืชชั้นสูง และแบคทีเรียบางชนิดสามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์ และใช้พลังงานนี้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ  แต่สัตว์ไม่สามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์  ต้องรับพลังงานโดยการบริโภคพืชและสัตว์อื่น ดังนั้นแหล่งของ  พลังงานทางเมตาบอลิสม์ในโลกคือ  ดวงอาทิตย์ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จึงจำเป็นสำหรับชีวิตบนโลก
                            ประโยชน์ของการสังเคราะห์แสง
                            1. เป็นกระบวนการสร้างอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของพืช
                   2. เป็นกระบวนการซึ่งสร้างสารประกอบชนิดอื่น ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเจริญ
                    เติบโตของพืช
                            3. เป็นกระบวนการซึ่งให้ก๊าซออกซิเจนแก่บรรยากาศ
                            4. ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในสภาวะสมดุล

                            การที่พืชรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรงนี้       พืชต้องมีกลไกพิเศษ คือ มีรงควัตถุ (Pigment) สีเขียว ซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophylls)     ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวน Pyrrole 4 วง  เรียงติดกัน มี Mg อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดแสงเรียกว่า Head ส่วน Tail คือ  Phytol ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ปรากฏอยู่ในคลอโรพลาสต์      ทำหน้าที่ในการจับพลังงานจากแสง ซึ่งโครงสร้างของคลอโรพลาสต์นี้ได้กล่าวถึงแล้วในบทที่ 1    นอกจากคลอโรฟิลล์แล้ว    รงควัตถุที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงยังมีคาโรทีนอยด์ (Carotenoids) และไฟโคบิลินส์(Phycobilins)  สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้จะมีรงควัตถุหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชนิด รงควัตถุเหล่านี้แสดงอยู่ในตารางที่ 4.1
                            คลอโรฟิลล์ เอ นั้นจัดว่าเป็น primary pigment ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงโดยตรง ส่วนรงควัตถุชนิดอื่น ๆ ต้องรับแสงแล้วจึงส่งต่อให้คลอโรฟิลล์ เอ  เรียกว่าเป็น Accessory pigment ในพืชชั้นสูงทั่ว ๆ ไปจะมีคลอโรฟิลล์ เอ มากกว่าคลอโรฟิลล์ บี ประมาณ  2-3  เท่า ส่วนแบคทีเรียบางชนิด เช่น Green bacteria  และ  Purple bacteria จะมีรงควัตถุซึ่งเรียกว่า Bacteriochlorophyll       
    ซึ่งปรากฏอยู่ในไธลาคอยด์  การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียจะต่างจากการสังเคราะห์แสงของพืชชั้นสูง เพราะไม่ได้ใช้น้ำเป็นตัวให้อีเลคตรอนและโปรตอน   แต่ใช้ H2S  แทน  และเมื่อสิ้นสุดการสังเคราะห์แสงจะไม่ได้ก๊าซออกซิเจนออกมา    แต่จะได้สารอื่น เช่น กำมะถันแทน
    ตอบ ข้อ2 คำอธิบาย การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น รังสีอัตราไวโอเล็ตชนิด UV- C มีพลังงานมากที่สุดและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนโลก เช่น ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งเรตินาเกิดต้อกระจก ระบบภูมิคุ้มกันและสารพันธุกรรมถูกทำลาย พืชเจริญเติบโตช้าลง วัสดุต่างๆ ที่ทำจากสารสังเคราะห์จะแตกหักเสียหายง่าย สีซีดจางลง
    นักวิทยาสาสตร์พบว่าสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายโอโซนจึงมีความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายโอโซน โดยลดการใช้ CFCs ในบรรจุภัณฑ์แบบฉีดพ่น และเลิกใช้ CFCs เป็นสารทำความเย็นในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
     นักเรียนจะมีส่วนช่วยในการลดปริมาณการใช้สาร CFCs ได้อย่างไร
    เมื่อวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก จะพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของประชากรมนุษย์แต่ละคน ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มจากระดับบุคคลไปสู่การสร้างความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโลก และวัฏจักรของสารต่างๆ ที่หมุนเวียนบนโลกที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุดและสร้างความร่วมมือในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
      
  3. ตอบ ข้อ 4 คำอธิบาย                                                                                                                       
ไวรัสมีกรดนิวคลีอิกเพียงชนิดเดียวเป็น DNA หรือ RNA (ยกเว้นบางชนิด)
ไวรัสมีขนาดเล็กมาก (20-300 nanometer) จนสามารถหลุดรอดผ่านเครื่องกรองที่ใช้กรองแบคทีเรียได้ ในสมัยก่อนเรียกไวรัสว่าเป็น filterable agents การดูรูปร่างของไวรัสต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนจะใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาไม่ได้
ไวรัสมีการเพิ่มจำนวนเฉพาะในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นจึงจัดไวรัสเป็น obligate intracellular parasite และ กลไกของไวรัสในการเพิ่มจำนวนที่เรียกว่า replication ก็แตกต่างจากการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดอื่นอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะไวรัสมีโครงสร้างและส่วนประกอบแบบง่ายๆ ไม่มีเมตาโบลิซึมและ organell ต่างๆเช่นไรโบโซมหรือไมโตคอนเดรีย ของตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยการทำงานจากเซลล์โฮสต์ทั้งสิ้น
ไวรัสไม่ถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มีสารอินเตอร์เฟียรอน (Interferon, IFN) และยาหรือสารเคมีที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้
การติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนเซลล์โฮสต์ เช่น ทำให้เซลล์ตาย, มีการรวมตัวของเซลล์, หรือทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ (transformation) กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
ตอบ ข้อ 1 คำอธิบาย
เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษาความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็นเกลือ และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ หน่วยพันธุกรรมของเซลล์หรือยีน และ อาร์เอ็นเอชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสารชีวโมเลกุล (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย

[แก้] เยื่อหุ้มเซลล์ - ส่วนหุ้มและปกป้องเซลล์

ไซโทพลาซึมของเซลล์ประเภทยูแคริโอตจะถูกห้อมล้อมด้วยส่วนที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ หรือ พลาสมา เมมเบรน (cell membrane หรือ plasma membrane) พลาสมาเมมเบรนจะพบในเซลล์ประเภทโพรแคริโอตด้วย เยื่อนี้จะทำหน้าที่แยกและปกป้องเซลล์จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างขึ้นจากชั้นของลิพิดสองชั้น หรือ ลิพิด ไบเลเยอร์ (lipid bilayer) และโปรตีน ภายในเยื่อจะมีโมเลกุลหลากชนิดที่ทำหน้าที่เป็นทั้งช่องทางผ่านของสารและ ปั๊ม (channels and pumps) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะในการขนส่งโมเลกุลเข้าหรือออกจากเซลล์

[แก้] ไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton) - ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเซลล์

ไซโทสเกเลตอนเป็นโครงสร้างที่สำคัญ ซับซ้อน และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีบทบาทในการจัดรูปแบบและจัดเรียงตำแหน่งของออร์แกเนลล์ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม, ช่วยให้เกิดกระบวนการเอนโดไซโทซิส (endocytosis) หรือการนำสารจากภายนอกเซลล์เข้ามาในเซลล์เพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตและการเคลื่อนไหว, บทบาทในการทำงานของกล้ามเนื้อ, และมีโปรตีนจำนวนมากมายในไซโทสเกลเลตอนที่ควบคุมโครงสร้างของเซลล์
ไซโทสเกเลตอน แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ได้แก่ ไมโครทูบูล (Microtubule) , อินเทอร์มีเดียท ฟิลาเมนท์ (Intermediate Filament) และ ไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament)

[แก้] สารพันธุกรรม (Genetic Material)

สารพันธุกรรมแตกต่างกันสองชนิดคือ :
รหัสพันธุกรรม (Genetic code) ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ซึ่งเก็บอยู่ในรูปดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ดีเอ็นเอสำหรับเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม แต่ไวรัสบางชนิด เช่น รีโทรไวรัส (retrovirus) มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอนอกจากจะเป็นสารพันธุกรรมแล้วยังทำหน้าที่เป็นสารที่ขนถ่ายข้อมูลด้วย ได้แก่ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ หรือ (mRNA) และอาจทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ได้โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม ได้แก่ ไรโบโซมัล อาร์เอ็นเอ หรือ (rRNA)
สารพันธุกรรมของพวกโปรคาริโอต จะถูกจัดอยู่ในโมเลกุลของดีเอ็นเอรูปวงกลมง่ายๆ เช่น ดีเอ็นเอของแบคทีเรียซึ่งอยู่ในบริเวณนิวคลอยด์ (nucleoid region) ของไซโตพลาสซึม ส่วนสารพันธุกรรมของพวกยูคาริโอต จะถูกจัดแบ่งให้อยู่ในโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงที่เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) ภายในนิวเคลียส และยังพบว่ามีสารพันธุกรรมอื่นๆ นอกจากในโครโมโซมในออร์แกเนลล์บางชนิด เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ (ดูเพิ่มเติมที่ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก (endosymbiotic theory)) เช่น ในเซลล์มนุษย์จะมีสารพันธุกรรมในบริเวณดังนี้
  • ในนิวเคลียส เรียกว่า นิวเคลียร์ จีโนม (nuclear genome) แบ่งเป็นโมเลกุลเส้นตรง ดีเอ็นเอ 46 เส้น หรือ 23 คู่ เรียกว่า โครโมโซม
  • ในไมโทคอนเดรีย เรียกว่า ไมโทคอนเดรียล จีโนม (mitochondrial genome) เป็นโมเลกุลดีเอ็นเอรูปวงกลมที่แยกจากดีเอ็นเอในนิวเคลียส ถึงแม้ไมโทคอนเดรียล จีโนมจะเล็กมากแต่ก็มีรหัสสำหรับการสร้างโปรตีนที่สำคัญ
สารพันธุกรรมจากภายนอกที่สังเคราะห์ขึ้นได้เองสามารถนำไปใส่ในเซลล์ได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานสเฟกชัน (transfection
 
ตอบ ข้อ 1 คำอธิบาย
การออสโมซิส (อังกฤษ: Osmosis) เป็นกระบวนการแพร่โมเลกุลของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน.[1] จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำมาก (สารละลายความเข้มข้นต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย (สารละลายความเข้มข้นสูง) กระจายจนกว่าโมเลกุลของน้ำจะเท่ากัน เป็นกระบวนการทางกายภาพที่ตัวทำละลายจะเคลื่อนที่โดยไม่อาศัยพลังงาน ผ่านเยื่อเลือกผ่าน (ซึ่งตัวทำละลายจะผ่านเยื่อเลือกผ่านได้ แต่สารละลายจะไม่สามารถผ่านเยื่อเลือกผ่านได้[2]) การออสโมซิสก่อให้เกิดพลังงาน และสามารถสร้างแรงได้[3]
การเคลื่อนที่ของตัวทำละลายจะเคลื่อนที่จากสารละลายความเข้มข้นต่ำกว่า ไปยังสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความต่างของความเข้มข้นของสาร แรงดันออสโมติก หมายถึง แรงดันที่ใช้สำหรับการคงดุลยภาพ โดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายอีกต่อไป
การออสโมซิสเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับระบบชีววิทยา โดยเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน โดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มเซลล์จะไม่ยอมให้สารละลายอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกได้ อย่างเช่น โพลีแซกคาไรด์ ขณะที่น้ำ อากาศและสารละลายที่ไม่มีประจุไฟฟ้าสามารถผ่านเข้าออกได้ ความสามารถในการผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ของสารอาจขึ้นอยู่กับคุณสมบัติในการละลาย ประจุไฟฟ้า หรือคุณสมบัติทางเคมี และขนาดของสารละลายนั้น กระบวนการออสโมซิสเป็นกระบวนการพื้นฐานในการนำน้ำผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ แรงดันเทอร์เกอร์ของเซลล์จะถูกควบคุมโดยการออสโมซิส 
คำตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย เพพซิน (Pepsin) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน (จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์) ให้เป็นเพปไทด์ (โปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กลง)ทำหน้าย่อยเพปไทด์ให้เป็นโพลีเปปไตด์ ซึ่งทริปซินสร้างจากตับอ่อน แล้วก็จะถูกส่งไปที่ลำไส้เล็ก โดยจะมีเอมไซม์ เปปติเดสที่จะย่อยโพลีเปปไตด์เป็นโมเลกุลที่เล็กลงคือ กรดอะมิโน

คำตอบ ข้อ 1 เพราะ โปรตีนในปัสสาวะ (1): หมายถึงการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ 300 มก.ต่อวันขึ้นไป (+1) หรือ 1 กรัมต่อลิตร หรือมากกว่าในปัสสาวะที่เก็บเป็นครั้งคราว ซึ่งต้องเก็บห่างกัน 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า การทดสอบด้วย dipstick สัมพันธ์กับค่าที่เก็บตรวจทั้ง 24 ชั่วโมงได้ไม่ดีนัก(3-5) ค่า dipstick +1 จะทำนายค่าโปรตีนใน 24 ชั่วโมง 300 มก.ต่อวันขึ้นไป ประมาณร้อยละ 53-86(3) อย่างไรก็ตามค่า 3+ และ 4+ มีประโยชน์มากกว่า ช่วยบ่งชี้ความรุนแรงได้ดี คือกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มนี้มีระดับโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน(5)

    Alb (Albumin) หรือ Protein

      คือโปรตีนไข่ขาว


ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุดออกมา


แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ จะไข่ขาวหลุด ออกมาในปัสสาวะ


อาจเป็นโรคไตชนิด Nephrotic Syndrome


ถ้าคนท้อง แล้วมีไข่ขาวออกมา


ต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการบวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)




ทานน้ำมากๆ จะช่วยให้ไตทำงานน้อยลง




มันเป็นเรื่องแปลกที่ทานน้ำมาก ไตทำงานน้อยลง


ทานน้ำน้อย ไตทำงานมาก




ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกาย




การมีไข่ขาวออกมา เป็นอาการเริ่มต้นของ เบาหวาน


ควรตรวจ รักษา
ตอบ ข้อ 4 คำอธิบาย ปลาทะเลที่เรานิยมรับประทานนั้น เป็นส่วนหนึ่งของปลาอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลอย่างนับไม่ถ้วน แล้วคุณรู้ไหมน้ำทะเลที่มีความเค็มและขมนั้น ประกอบด้วยเกลือถึง 3.5% อาจมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อทะเลประกอบด้วยเกลือจำนวนมากเช่นนี้ ปลาที่อาศัยกินอาหารต่างๆในทะเลนั้น ทำไมเนื้อกลับไม่เค็มเลยสักนิด
ในความเป็นจริง ปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ ปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง ในครีบของปลากระดูกแข็งจะมีเซลล์พิเศษชนิดหนึ่ง เรียกว่าเซลล์ขับเกลือ เซลล์ชนิดนี้สามารถดูดเกลือในกระแสเลือด ผ่านน้ำเมือกข้นเหนียวพร้อมกับขับออกจากตัวปลา การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของเซลล์กลุ่มนี้ ทำให้สามารถรักษาความสมดุลย์ของเกลือในร่างกายให้พอดี
ส่วนในปลากระดูกอ่อนนั้น ก็จะมีวิธีการรักษาความสมดุลย์ของเกลือในร่างกายอีกแบบหนึ่ง ในกระแสเลือดของมันจะประกอบด้วยสารประกอบยูเรียที่มีความหนาแน่นมาก ทำให้กระแสเลือดมีระดับความหนาแน่นสูงกว่าน้ำทะเล จนเกลือไม่สามารถซึมผ่านเข้าร่างกายได้ เพราะเหตุนี้เนื้อของมันจึงไม่มีความเค็ม

      การที่ทะเลมีรสเค็ม เนื่องจากการรวมตัวของน้ำละลายเกลือแร่ ที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีป และใต้ทะเล โดยความเค็มของทะเลจะมีความคงที่ สาเหตุที่ความเค็มของน้ำทะเลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้น ก็เพราะในมหาสมุทรมีกระบวนการของธรรมชาติที่รักษาระดับความสมดุลของเกลือแร่ คือถ้าหากว่าธาตุชนิดใดมีในน้ำมากเกินกว่าปกติ ก็จะถูกกำจัดออกจากน้ำทะเล โดยการแยกตัวออกเป็นของแข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีธาตุใดละลายน้ำน้อยเกินปกติ เกลือแร่ของธาตุนั้นในรูปของแข็ง ก็จะถูกละลายกลับสู่น้ำทะเล ดังนั้น ความเค็มของน้ำทะเลจึงคงที่มาหลายล้านปีแล้ว
น้ำทะเลเค็มเพราะมีเกลือหลายชนิดละลายอยู่ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เกลือแกง ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ หรือ มีสูตรเคมีว่า NaCl น้ำทะเล โดยเฉลี่ยแล้วมีเกลือร้อยละ 3.5 หรือน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือละลายอยู่ประมาณ 30 กรัม ยิ่งไปกว่านั้น ทะเลในแผ่นดินใหญ่หรือทะเลปิด ซึ่งไม่เชื่อมต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนหรือทะเลแดง เกลือละลายอยู่มากกว่าทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป

ส่วนทะเลที่มีความเค็มมากที่สุดได้แก่ ทะเลเดดซี(Dead Sea) ในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 340 ตารางไมล์ เท่านั้น โดยมีปริมาณเกลือมากถึง 10,523,000,000 ตัน ถ้าเราสามารถระเหยเอาน้ำทั้งหมดออกไปจากทุกทะเลและมหาสมุทรในโลกได้จนแหล่งน้ำเหล่านี้แห้งลงจะพบว่า เกลือที่เหลืออยู่จะมีปริมาณมากมายมหาศาลจนเหลือเชื่อ ถ้านำเกลือเหล่านี้ทั้งหมดมารวมเป็นกอง จะได้กำแพงที่สูง 180 ไมล์ และหนา 1 ไมล์ หรือมวลของเกลือทั้งหมดมีขนาดประมาณ 15 เท่าของมวลทั้งหมดของพื้นที่ทวีปยุโรป


ตอบข้อ 3 คำอธิบาย
แวคิวโอลเป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด มักพบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักดล็กกว่าในพืช แวคิวโอลซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
  1. Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
  2. Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
  3. Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์
  4. Gas vacuole สำหรับสะสมแก๊สต่างๆ

เนื้อหา

[ซ่อน]


ตอบ ข้อ 1 คำอธิบาย เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นสมองส่วนไฮโพโทลามัสถูกกระตุ้นทำให้ลดเมทาบอลิซึมที่เป็นการเผาผลาญอาหารเพื่อทำให้เกิดความร้อนและหลอดเลือดขยายตัวเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย

ตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย
นมแม่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานที่แข็ง แรงให้กับลูก เพราะนมแม่มีส่วนประกอบของโมเลกุลและสารอาหารสำคัญหลายๆ อย่าง เช่น แอนติบอดี้ พรีไบโอติก ที่ทำหน้าที่ปกป้องลูกจากเชื้อโรค ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์สุขภาพดีในกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากเป็นไปได้คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่ตั้งแต่หลังคลอด เพื่อความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทาน และลดอัตราการติดเชื้อหรืออาการเจ็บป่วยในวัยเด็กของลูก พร้อมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างการทำงานของภูมิต้านทานของลูก

ตอบข้อ 2  คำอธิบาย
วัคซีนประกอบด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่า “แอนติเจน (antigen)” และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ สารเสริมฤทธิ์ (adjuvant) สารกันเสีย (preservative) และของเหลวสำหรับแขวนตะกอน (suspending fluid) สารเสริมฤทธิ์เป็นตัวช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น เช่น เกลืออะลูมิเนียม ส่วนของเหลวแขวนตะกอนอาจเป็นน้ำ น้ำเกลือ เป็นต้น

ตอบข้อ 3 คำอธิบาย
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็นการแบ่งของเซลล์เพศ (sex cell) ในสัตว์สามารถพบการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในอัณฑะและรังไข่ ส่วนในพืชพบได้ในอับเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมี 2 ขั้นตอนคือ
 
1. ไมโอซิส 1 เป็นระยะที่มีการลดจำนวนโครโมโซมจากเดิมลงครึ่งหนึ่ง คือ จากเซลล์เริ่มต้นที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) จะได้เซลล์ที่มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ 2 เซลล์ ไมโอซิส 1 แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ
1) โพรเฟส 1 (prophase - I) เป็นระยะที่มีความซับซ้อนมากที่สุด
2) เมทาเฟส 1 (metaphase - I) เยื่อหุ้มนิวเคลียสจะสลายไป
3) แอนาเฟส 1 (anaphase - I) ระยะนี้เซนโทรเมียร์จะยังไม่แบ่งตัวจาก 1 เป็น 2
4) เทโลเฟส 1 (telophase - I) โครโมโซมที่ขั้วเซลล์มีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง
 
2. ไมโอซิส 2 เป็นระยะที่คล้ายคลึงกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการแยกตัวของโครมาทิดเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดระยะนี้ จะได้ 4 เซลล์ มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ และ 4 เซลล์นี้จะมีจำนวนโครโมโซมและพันธุกรรมแตกต่างจากเซลล์เริ่มต้น จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ไมโอซิส 2 จะมีการจำลองโครโมโซมขึ้นอีกในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ประกอบด้วย
1) โพรเฟส 2 (prophase - II) โครโมโซมของแต่ละเซลล์จะเริ่มปรากฏขึ้นมาใหม่
2) เมทาเฟส 2 (metaphase - II) เยื่อหุ้มนิวเคลียสหายไป แต่ละโครโมโซมที่ประกอบด้วย 2 โครมาทิด จะเคลื่อนตัวมาเรียงบริเวณตรงกลางเซลล์
3) แอนาเฟส 2 (anaphase - II) เซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซมจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 และโครมาทิดจะแยกออก
4) เทโลเฟส 2 (telophase - II) จะเกิดเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นมาล้อมรอบโครโมโซมที่ขั้ว เมื่อเกิดการแบ่งไซโทพลาซึมอีกจะได้เซลล์ลูก 4 เซลล์


ตอบ ข้อ 2 คำอธิบาย
สารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเป็นกรดนิวคลีอิกที่มีขนาดใหญ่ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ

ตอบข้อ 3 อธิบาย
ในเพดดิกรีสี่เหลี่ยมหมายถึงผู้ชาย และวงกลมแทนเพศหญิง ส่วนสีดำทึบหมายถึงคนเป็นโรค  และสีขาวหมายถึงคนปกติ

ตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมี อายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย
ตาบอดสี ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้ตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคืดเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร

ตอบ ข้อ 1 คำอธิบาย
การถ่ายทอดทาง พันธุกรรมบางลักษณะเกี่ยวพันกับเพศด้วยทั้งนี้เพราะโครโมโซมที่กำหนดเพศหญิง แตกต่างจากที่กำหนดเพศชาย โครโมโซมเพศหญิงเป็นโครโมโซมคู่ XX โครโมโซมเพศชายเป็น XY โครโมโซม X และ Y นอกจากจะมีจีนกำหนดเพศแล้ว ยังมีจีนที่ควบคุมลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น บนโครโมโซม X ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y มีจีนควบคุมลักษณะตาบอดสี การแข็งตัวของเลือด ฯลฯ ดังนั้น ถึงแม้ว่าลักษณะตาบอดสีจะเป็นลักษณะด้อย แต่มีจีนคู่นี้บนโครโมโซม X ของผู้หญิงได้ยากนอกจากจะแสดงได้ต่อเมื่อจีนนั้นผิดปกติทั้งคู่ ขณะที่จีน XY ของผู้ชายจีนที่ไม่มีคู่โอกาสที่จีนด้อยโอกาสจะแสดงลักษณะเด่นจึงเป็นไปได้ เต็มที่ต่างกับจีนของฝ่ายหญิง

ตอบ ข้อ 3 คำอธิบาย
คนหมู่เลือด A+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O
คนหมู่เลือด A +A  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,Oคนหมู่เลือด B+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,Oคนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)คนหมู่เลือด O+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้นคนหมู่เลือด A+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ปคนหมู่เลือด A+AB  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)คนหมู่เลือด B+AB  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B 
คนหมู่เลือด A+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ Oคนหมู่เลือด B+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น